วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิจัยในชั้นเรียนการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยใช้นิทาน

ชื่องานวิจัย     การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยใช้นิทาน

ชื่อผู้วิจัย         คุณครูวารุณี  วงษ์จิตร
                     
บทคัดย่อ
                   เพื่อฝึกพื้นฐานการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร และมีสุขภาพที่แข็งแรง ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์ จิตใจ  สังคม ตามแผนการพัฒนา
ของโรงเรียนโดยผ่านความร่วมมือของคณะครู คนงาน และนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
                   การรับประทานอาหารเป็นการสร้างสุขลักษณะนิสัยที่ดีขั้นพื้นฐานในวัย 3 – 5 ปี  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ตามสุขลักษณะมารยาทในการรับประทานอาหารจากการเล่านิทาน และ การร่วมโครงการคนดีศรีอนุบาล  เพื่อฝึกการมีมารยาท
เรื่อง     การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยใช้นิทาน

ความสำคัญ
               จากการสังเกตของผู้วิจัยในด้านการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาขาดระเบียบวินัยในการรับประทานอาหารรวมทั้งมารยาท        นักเรียนส่วนมากสนทนากับเพื่อนขณะรับประทานอาหารเป็นเหตุให้เกิดเสียงดัง    เศษอาหารตกลงบนโต๊ะและพื้นเลอะเถอะสกปรกขาดระเบียบวินัยรวมถึงอันตรายที่เกิดจากการพูดคุยทำให้สำลักอาหารหรือบางครั้งอาเจียน 
              จากปัญหาที่พบคณะครูก่อนประถมศึกษาจึงได้ปรับพฤติกรรมของนักเรียนขณะเดินไปรับประทานอาหารจนถึงเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียนเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ     โดยการปลูกฝังและฝึกสุข ลักษณะนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารให้มีมารยาทในการรับประทานสะอาดปลอดภัย

จุดมุ่งหมาย
              เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษามีสุขลักษณะนิสัย และมารยาทที่
ดีในการรับประทานอาหาร  มีสุขภาพที่แข็งแรง

ตัวแปรที่ศึกษา
              ศึกษานักเรียนระดับอนุบาล 3/3

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
              นักเรียนส่วนมากมีสุขลักษณะนิสัยมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหารมีสุขภาพที่แข็งแรง
ร่วมถึงปลูกฝังระเบียบวินัยของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาในขณะรับประทานอาหารที่โรงเรียน
และที่บ้าน

ขอบเขตของการวิจัย
              1. เลือกกลุ่มนักเรียนระดับอนุบาล 3/3
              2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการเล่านิทาน
              3. เล่านิทานให้นักเรียนฝังและสนทนาซักถาม
              4. สังเกต และประเมินนักเรียนขณะรับประทานอาหารกลางวัน (ใช้ใบสรุปการประเมินของ
                  โครงการคนดีศรีอนุบาล) สรุปการประเมินเป็นรายเดือน
              5. ประชุมครูเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมนักเรียนในการรับประทานอาหารกลางวัน
              6. สรุปการประเมินความพึงพอใจในการรับประทานอาหารของนักเรียน
              7. รวบรวมข้อมูล และสรุปผลการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย
1.  เลือกกลุ่มนักเรียนที่ทำการวิจัย
2.    สังเกตพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของนักเรียนก่อนประถมศึกษา
3.   ประชุมกันในกลุ่มผู้วิจัย 3 ท่าน สรุปพฤติกรรมนักเรียนขณะรับประทานอาหาร
4.  ใช้ตัวเลือกในการเล่านิทาน เรื่องลูกหมีปวดท้องให้นักเรียนฟังพร้อมสนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อ
เรื่องในนิทาน
5.   สังเกตใบให้คะแนนการรับประทานอาหารของโครงการคนดีศรีอนุบาล และสอบถามจากคณะครู
ครูพี่เลี้ยง  คนงาน
6.    สรุปจากที่สังเกต
7.    ประชุมครู  ครูพี่เลี้ยง และคนงาน เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนให้เป็นระเบียบสะอาดเรียบร้อย
8.    ปฏิบัติหลังจากการประชุมพร้อมทั้งเสริมแรงในการชมนักเรียนที่รับประทานอาหารที่เรียบร้อยสะอาด
9.   สำรวจความพึงพอใจก่อน และหลังการประชุมเรื่องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา

10.  สรุป และประเมินเป็น กราฟ
11.   รวบรวมข้อมูล และสรุปงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.    นิทานเรื่อง ลูกหมีปวดท้อง
2.   ใช้แบบสังเกต และประเมินให้คะแนนการับประทานอาหาร (ของโครงการคนดีศรีอนุบาล)
3.  ใช้แบบสำรวจความพึงพอใจก่อน และหลังการประชุมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของนักเรียน

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1.  ศึกษาสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเดินไปรับประทานอาหารจนถึงนักเรียนเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียน
2.  ใช้ใบสรุปการประเมินให้คะแนนการรับประทานอาหาร (ของโครงการคนดีศรีอนุบาล)
3.  นิทานเรื่อง ลูกหมีปวดท้อง
4.  สร้างแบบสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับนักเรียนรับประทานอาหารก่อนและหลังการประชุมการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนปรับพฤติกรรมนักเรียนขณะรับประทานอาหาร
              นักเรียนระดับอนุบาล 3/3 ส่วนมากสนทนากับเพื่อนขณะรับประทานอาหารและเล่นเป็นเหตุให้เกิดการขาดระเบียบวินัยเศษอาหารตกลงบนโต๊ะ และพื้นเลอะเถอะทำให้สกปรก และเกิดอันตราย  ขาดระเบียบวินัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากเล่านิทาน และนำโครงการคนดีศรีอนุบาล
              นักเรียนระดับอนุบาล 3/3 ส่วนมาก  เดินแถวเป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่อเข้ามาบริเวณโรงอาหาร  ไม่คุยเสียงดังรับประทานอาหารอย่างมีวินัยมีเศษอาหารตกลงบนโต๊ะ และพื้นน้อยลงเมื่อทานอาหารเสร็จนักเรียนมีระเบียบวินัยในการเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียนมากขึ้น
ตารางแสดงผลความพึงพอใจในการรับประทานอาหารของนักเรียนอนุบาล3/3  ก่อน และหลังการประชุมครูเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมนักเรียนในการรัประทานอาหารกลางวัน (โครงการคนดีศรีอนุบาล และการเล่านิทาน)
ข้อที่

ก่อนประชุม

หลังประชุม

1


2

3

4


5

6
มารยาทในการเดินมารับประทานอาหารของ
นักเรียน

มารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียน

ความสะอาดบริเวณที่รับประทานอาหาร

การปฏิบัติตามข้อตกลงในขณะรับประทานอาหาร

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ความพอใจขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารเสร็จแล้วเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียน

มารยาทในการเดินมารับประทานอาหารของ
นักเรียน

มารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียน

ความสะอาดบริเวณที่รับประทานอาหาร

การปฏิบัติตามข้อตกลงในขณะรับประทานอาหาร

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ความพอใจขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารเสร็จแล้วเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียน

สรุปผลแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับประทานอาหาร
ระดับอนุบาล3/3  ปีการศึกษา 2556

                จากแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับประทานอาหารระดับอนุบาล  ได้ส่งแบบสอบถามครูประจำชั้น  ครูพิเศษ  ครูพี่เลี้ยง และคนงานจำนวน 32 ชุด  ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 32 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ผลปรากฎว่า

   โดยมีเกณฑ์ที่กำหนดให้                           ก่อนประชุม                                         หลังประชุม

มารยาทในการเดินรับประทาน
อาหารของโรงเรียน
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด


2
28
2
4
28


มารยาทในการรับประทานอาหารของโรงเรียน


5
23
4
16
16


ความสะอาดบริเวณที่รับ
ประทานอาหาร


3
21
8
3
29


ปฏิบัติตามข้อตกลงในขณะรับประทานอาหาร


3
21
8
3
29


การเลือกรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์


6
24
2
4
28


ความพอใจขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารเสร็จแล้วเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียน


3
25
4
8
24



ผลทีได้รับคิดเป็นร้อยละ

มารยาทในการเดินรับประทาน
อาหารของโรงเรียน
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด


2
28
2
4
28


มารยาทในการรับประทานอาหารของโรงเรียน


5
23
4
16
16


ความสะอาดบริเวณที่รับ
ประทานอาหาร


3
21
8
3
29


ปฏิบัติตามข้อตกลงในขณะรับประทานอาหาร


3
21
8
3
29


การเลือกรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์


6
24
2
4
28


ความพอใจขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารเสร็จแล้วเตรียมตัวขึ้นชั้นเรียน


3
25
4
8
24



สรุปผล
              นักเรียนส่วนมากมีมารยาทพร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบในการเดินแถว     การรับประทานอาหาร และ มีนักเรียนบางคนยังปฏิบัติไม่ได้คุณครูต้องคอยกระตุ้นและแนะนำต่อไป  นักเรียนรู้จักรอคอยมีความตั้งใจในการทำความดีในการรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท และมีระเบียบวินัยขั้นพื้นฐานที่ดี

ข้อคิดที่ได้จากงานวิจัย
              ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างมีมารยาทที่ถูกระเบียบ และเป็นผลดีต่อสุขภาพของนักเรียนด้วย
ภาคผนวก
1.             นิทานเรื่อง ลูกหมีปวดท้อง
2.             ใบสังเกต และประเมินให้คะแนนการรับประทานอาหาร
3.             แบบสำรวจความพึงพอใจก่อน และ หลัง การประชุมครูเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมนักเรียนในการรับประทานอาหาร
นิทานเรื่อง ลูกหมีปวดท้อง
              มีลูกหมีตัวหนึ่งกำลังออกไปชวนเพื่อนๆ  มาเล่นข้างนอกบ้าน เพื่อนของหมีได้แก่ แมว ลิง และ   กระต่ายสัตว์ทั้งสี่เล่นกันอย่างสนุกสนาน      จนกระทั่งแมวรู้สึกหิว   จึงชวนเพื่อนไปทานอาหาร
แมว ลิง และกระต่ายเตรียมอาหารมาจากบ้านส่วนหมีลืมเตรียมอาหารมาเพื่อนๆ   จึงแบ่งอาหารให้หมีทานด้วย    ส่วนหมีเป็นสัตว์ที่อ้วนใหญ่ทานอาหารที่เพื่อนๆแบ่งให้ไม่อิ่มจึงไปซื้ออาหารที่ข้างถนนมารับประทานอย่างไม่เรียบร้อยเศษอาหารตกพื้น  พออิ่มเรียบร้อยแล้วสัตว์ทั้งสี่ก็ชวนกันกับบ้านแต่ลูกหมียังไม่กับบ้านเพราะลูกหมีรู้สึกปวดท้องลงไปนอนกับพื้นที่มีเศษอาหารตกอยู่ และมีพวกมดมากินเศษอาหารที่ตกหล่นบนพื้นทำให้ลูกหมีโดนมดกัดร้องไห้หาแม่  แม่ได้ยินลูกหมีร้องว่าปวดท้องและเจ็บไปทั่งตัวแม่หมีจึงถามว่าไปกินอะไรมาหรือเปล่าจึงปวดท้อง  ลูกหมีจึงบอกว่า ลูกหมีไปซื้อขนมข้างถนนทานอย่างเดียวเอง”  แม่บอกลูกหมีไปทานขนมที่ไม่สะอาดมีแมลงวันตอมลูกหมีจึงปวดท้องที่หลังเวลาซื้อขนมรับประทานลูกต้องเลือกขนมที่สะอาด และไม่มีสี และต้องเป็นขนมที่มีประโยชน์รวมถึงไม่ทำเศษอาหารตกลงพื้นจะได้ไม่โดนมดกัดถ้าเรากินอาหารที่มีประโยชน์ร่างการจะแข็งแรง และหน้าส่วยลูกหมีจึงตอบเสียงอ่อยๆว่า ต่อไปนี้ลูกจะซื้อขนมที่เป็นประโยชน์ และไม่ซื้ออาหารที่ไม่เป็นประโยชน์รวมถึงจะทานให้เรียบร้อยด้วยครับ” 


















1 ความคิดเห็น: