ชื่อเรื่อง การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1 โดยใช้หนังสือนิทาน

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 / โดยใช้หนังสือนิทาน
ชื่อผู้วิจัย                นางสาวปราณี      ดวงขันธ์  
สภาพปัญหา         ในการสอนเด็กนักเรียนโรงเรียนเคียวนำ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1  ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555  จำนวน 40 คน ครูสังเกตเห็นว่า เด็กคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาง่ายๆด้วยตนเองไม่ได้
ปัญหาการวิจัย     จะทำอย่างไรให้เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1   สามารถคิดวิเคราะห์ ได้อย่างเหมาะสมกับวัย
เป้าหมายการวิจัย เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมให้เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1   สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย
วิธีการวิจัย            1. กำหนดเลือกหนังสือนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย มา 4 เรื่อง คือ
                                                เรื่องที่ 1 หนูนิดไม่อยากกินผัก
                                                เรื่องที่ 2 หนูนิดไม่อยากไปโรงเรียน
                                                เรื่องที่ 3 หนูนิดเด็กดีไม่ดื้อรั้น
                                                เรื่องที่ 4 กุ๋งกิ้งหัวเหม็น
                                2. วิธีการ ดังนี้
                                                ขั้นที่ 1 วันที่ 1 ครูเล่านิทานประกอบภาพให้เด็กฟังทีละหน้าจนจบโดยไม่บอกชื่อเรื่อง
                                                ขั้นที่ 2 วันที่ 2 ครูและเด็กร่วมกันเล่านิทานทีละหน้าจนจบ
                                                ขั้นที่ 3 วันที่ 3 เด็กช่วยกันเล่านิทานประกอบภาพทีละหน้าจนจบ
ขั้นที่ 4 วันที่ 4 เด็กช่วยกันตอบคำถาม ตั้งชื่อเรื่องอย่างหลากหลาย และหาข้อคิดหรือ
คติเตือนใจที่ได้จากเรื่อง
                                                ขั้นที่ 5 วันที่ 5 ครูและ เด็กร่วมกันทำกิจกรรมเสริม
3. กำหนดเวลา คือทำกิจกรรมทุกวันหลังเสร็จการจัดกิจกรรมการนั่งสมาธิตอนเช้า
                               ช่วงเวลา 09.00 น.-09.30 น.
4. จัดกิจกรรมตามกำหนด
5. สังเกตผลที่เกิดขึ้น และบันทึกผล
6. สรุปผลการทดลอง
ช่วงเวลาทดลอง
                                - ทดลองในช่วงเวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้นิทาน 4 เล่ม
                                                สัปดาห์ที่ 1           เรื่องที่ 1 หนูนิดไม่อยากกินผัก
                                                สัปดาห์ที่ 2           เรื่องที่ 2 หนูนิดไม่อยากไปโรงเรียน
                                                สัปดาห์ที่ 3           เรื่องที่ 3 หนูนิดเด็กดีไม่ดื้อรั้น
                                                สัปดาห์ที่ 4           เรื่องที่ 4 กุ๋งกิ้งหัวเหม็น
- ช่วงวันที่ทดลอง วันที่ สิงหาคม  2555 - วันที่ 31  สิงหาคม  2555



การวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
                หัวข้อการคิดวิเคราะห์
1. วิเคราะห์นิสัยตัวละคร
2. วิเคราะห์สถานการณ์
3. การตั้งชื่อเรื่อง
4. การหาคติเตือนใจหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
จากการนำข้อมูลบันทึกผลการสังเกตการทดลองมาพิจารณา
                - ก่อนการทดลองเด็กคิดวิเคราะห์ไม่เป็นเลย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เวลาถามเงียบ หรือพูดไม่ตรงประเด็น
- สัปดาห์ที่ 1 เด็กมีความสนุกสนานในการฟังและเล่านิทาน   เด็กส่วนมากยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวจากคำถามง่ายๆได้ แต่ก็มีเด็ก 3 คน คือ ด.ญ. มาริษา   แก้วจันทร์   ด.ญ.รัตนาพร    พอใจ  และเด็กหญิง  ฐานิดา   วดีศรีภิรมย์  กล้าพูดแสดงความคิดเห็นในลักษณะลองผิด ลองถูก
- สัปดาห์ที่ 2 เด็กหลายคน เริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น กล้าคิด กล้าพูด พูดเสียงดังฟังชัด จนเพื่อนๆพากันปรบมือให้ แต่การวิเคราะห์ออกมายังไม่ตรงประเด็น แต่ก็แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย
- สัปดาห์ที่ 3 เด็กเริ่มเห็นเป็นเรื่องปกติ เรียนรู้อย่างสนุกสนาน แย่งกันพูด แสดงความคิดเห็นอย่างหลาย วิเคราะห์ได้ตรงประเด็นมากขึ้น
- สัปดาห์ที่ 4 เด็กส่วนมากสามารถคิดวิเคราะห์ได้ กล้าพูด พูดเสียงดังฟังชัด
เหลือ 4 คน ที่ยังพูดไม่ชัดเจน คือพูดเสียงเบา ต้องให้พูดซ้ำคือ เด็กชายพชรพล  ขาวสำอาง   เด็กชายธีราณุวัฒย์   แก้วสมุทร   เด็กชายรัฐภูมิ นิลแสง   และเด็กหญิงเมษิณี   บุญทองแก้ว
สรุปผลการทดลอง
 เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 40 คน จากที่เด็กคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ไม่สามารถหาความคิดรวบยอดจากเรื่องง่ายๆที่ฟัง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาง่ายๆด้วยตนเองไม่ได้ ต้องคอยให้ครูบอกตลอด ดังนั้นผู้รายงานจึงได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 / 1   โดยใช้นิทาน ได้ผลปรากฏดังนี้
ในช่วงแรกๆเด็กจะสนุกกับการฟังนิทานมากกว่าอย่างอื่น เวลาครูให้แสดงความคิดเห็นจะเงียบสนิท เมื่อครูใช้คำถามนำ จะมีเด็ก 2 คน คือ เด็กหญิง มาริษา   แก้วจันทร์   เด็กหญิงรัตนาพร    พอใจ  และเด็กหญิง  ฐานิดา   วดีศรีภิรมย์  พยามตอบแต่ก็จะเป็นการถามคำตอบคำ และตอบไม่ตรงประเด็น เรื่องแรกเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการรับประทานผัก จากนั้น ต่อมาเด็กก็จะกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างกลากหลาย แย่งกันพูด ไม่กลัวผิดเหมือนแต่ก่อน มีความคิดรวบยอดจากเรื่องที่ฟังและสามารถพูดแสดงความคิดเห็นออกมาได้ เช่น คติเตือนใจ ข้อที่ควรนำไปปฏิบัติ การตั้งชื่อเรื่องอย่างหลากหลาย การแสดงบทบาทสมมติเรื่องใหม่ที่คล้ายๆกัน เป็นต้น




การทดลองครั้งนี้บรรลุเป้าหมายที่ผู้รายงานต้องการ เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เรื่องง่ายๆได้ มีความคิดรวบยอดในการทำงาน สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย และเหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตามมา ทำให้การเรียนการสอนขณะนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ผู้รายงานจะต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆเพื่อให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
สำหรับเด็กบางส่วนมีเด็กชายพชรพล  ขาวสำอาง   เด็กชายธีราณุวัฒย์   แก้วสมุทร   เด็กชายรัฐภูมิ นิลแสง   และเด็กหญิงเมษิณี   บุญทองแก้ว ต้องส่งเสริมความมั่นใจในการพูดมากขึ้นเป็นพิเศษสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ข้อเสนอแนะ       
การส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กมีหลายวิธี เราสามารถนำมาใช้ได้ ที่สำคัญคือต้องให้เด็กเห็นเป็นเรื่องปกติ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียน การสอน
แนวทางการพัฒนา            
1. พัฒนารูปแบบการนำเสนอกิจกรรมให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับ ความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
2. มีรูปแบบหรือเกณฑ์การวัดผล ประเมินผลที่ชัดเจน

3. มีการเผยแพร่เอกสารหรือผลงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น